วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มะละกอ

              มะละกอ  เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง  มีปลูกอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศ  ทำรายได้ให้เกษตรกรปีละไม่น้อย  ผลผลิตสามารถส่งเป็นสินค้าออกนำเงินเข้าประเทศปีละหลายสิบล้านบาท  มะละกอเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ทั้งบริโภคดิบและสุก  ผลดิบใช้ประกอบอาหารแปรรูปทำเค็มหั่นฝอย  เชื่อมและกวน  ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว  ยังแปรรูปเป็นมะละกอแห้งเข้มข้น  น้ำเชื่อม  ฟรุตสลัด  และกวน  นอกจากนี้  ยางจากผลมะละกอยังมีสารปกเปน  (Pqpqin)  ที่ทำเป็นผงแห้งใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร  ยา  และอุตสาหกรรมฟอกหนัง
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
              เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเก็บเมล็ดพันธุ์เอง  โดยเก็บจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง  ลักษณะผลยาว  ลูกโต  ซึ่งเป็นลักษณะของต้นกะเทย  การเก็บเมล็ดจากต้นกะเทยที่ผสมตัวเอง  เมื่อนำไปปลูกจะได้ต้นกล้าที่เป็นต้นกะเทยต่อต้นตัวเมีย  อัตราส่วน  2 : 1ควรเก็บเมล็ดจากผลที่อยู่ตรงกลางลำต้นหรือผลชุดที่ ในกรณีต้องการพันธุ์แท้  ควรช่วยผสมพันธุ์โดยใช้ถุงคลุมดอกก่อนดอกบาน  เมื่อดอกบานใช้เกสรตัวผู้ในต้นเดียวกันหรือพันธุ์เดียวกันป้ายที่เกสรตัวเมีย  แล้วใช้ถุงคลุมอีกครั้งหลังจากนั้นประมาณ  7  วัน  จึงถอดถุงคลุมออก  เมล็ดที่ได้จากผลสุกสามารถนำไปเพาะได้ทันที  ถ้าจะเก็บควรล้างเนื้อเยื่อให้สะอาดนำไปผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง   บรรจุถุงพลาสติกปิดให้แน่น  แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นจะเก็บได้นานประมาณ  1  ปี  ควรหาเปอร์เซ็นต์ความงอกก่อนนำไปเพาะ
การเตรียมต้นกล้า
              สามารถเพาะเมล็ดลงในถุงโดยตรง  โดยเตรียมดินผสมหื้ร่วนซุย  อัตราส่วน  ดิน  3  ส่วน ปุ๋ยคอก  1  ส่วน  และขี้เถ้าแกลบ  1  ส่วน  ผสมให้เข้ากัน  กรอกใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายน้ำแล้ว  ขนาด  5 x 8  นิ้ว  ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งหรือในเรือนเพาะชำที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน  จากนั้นหยอดเมล็ดมะละกอถุงละ  3  เมล็ด  ลึกประมาณ  0.5  ซม. รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน  เมล็ดจะงอกหลังเพาะประมาณ  10 – 14  วัน  ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  เช่น  แมนโคเชบและสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง  เช่น  โมโนโครโตฟอส  โดยผสมยาจับใบ  เมื่อต้นกล้าเริ่มงอก  และหลังจากนั้นทุก  10  วัน  จนอายุได้  45 – 60  วัน  จึงย้ายลงปลูก  ในระหว่างนี้อาจเร่งการเจริญเติบโต  โดยใช้ปุ๋ยทางใบสูตร  21 – 21 – 21  อัตรา  2  ช้อนแกง/น้ำ  20  ลิตร  ผสมยาจับใบ  ฉีดพ่นทุกสัปดาห์  ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเพาะต้นกล้า คือ  เดือนมกราคม  ย้ายปลูกในเดือนมีนาคม  สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต  สำหรับรับประทานสุกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป
การเลือกพื้นที่ปลูก
             มะละกอเป็นพืชที่ชอบดินร่วนและมีการระบายน้ำดี  ไม่ชอบน้ำขัง  มีอินทรียวัตถุสูง  หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า  1  เมตร  ลักษณะเป็นกรดเล็กน้อย  มี่น้ำเพียงพอในช่วงฤดูแล้ว  ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง  มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่  จึงไม่ควรปลูกถี่หรือชิดเกินไป  จะทำให้ป้องกันกำจัดศัตรูมะละกอได้ลำบาก
การเตรียมแปลง
            ไถพื้นที่เพื่อปราบวัชพืช  2  ครั้ง  ครั้งแรกไถกลบ  ครั้งที่ ไถพรวนย่อยดินให้ร่วน  จากนั้นวัดระยะปลูกโดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ใช้ระยะ  2.50 x 2.50  เมตร  หรือ  2.00 x  2.00  เมตร  การปลูกถี่จะทำให้ขนาดของผลเล็กลง  ขุดหลุมสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง  50  ยาว  50  และลึก  50  ซม.  ผสมดินปากหลุมกับปุ๋ยคอกประมาณครึ่งปิ๊บ  ใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (หินฟอสเฟต)  อัตรา  150 – 250  กรัมต่อหลุม  และปุ๋ยเกรด  15 – 15 – 15  อัตรา  20  กรัมต่อหลุม  ปลูกต้นกล้าที่เตรียมไว้แล้วกลบดินในระดับเท่ากับดินในถุง  ไม่ควรปลูกลึกจะทำให้รากเน่า  ปลูกหลุมละ  2 – 3 ต้น  เมื่อมะละกอแสดงเพศแล้วจึงถอนแยกทีหลังให้เหลือต้นกะเทยไว้หลุมละ  1  ต้น
การให้น้ำ
             การปลูกในต้นฤดูฝน  จะเป็นการประหยัดทุนและแรงงานในการให้น้ำ  โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ  ควรให้น้ำ  2 – 3  วันต่อครั้ง  ในช่วงติดผลมะละกอต้องการใช้น้ำมาก  การขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงผลไม่สมบูรณ์  การให้น้ำจะทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง  โดยเฉพาะในพื้นที่ดินหรือสภาพทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การใส่ปุ๋ย
             ควรมีการให้ปุ๋ยคอกเพิ่มเติม  เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์  โดยใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์หลังปลูก  3 – 4  ครั้งต่อปี  ครั้งละครึ่งปี๊บต่อต้น  ส่วนปุ๋ยเคมีใช้เกรด  15 – 15 – 15  อัตรา  50  กรัมต่อต้น  หลังย้ายปลูก  1  เดือน  ทุกเดือน  เดือนที่  3  เพิ่มเป็นอัตรา  100  กรัมต่อต้น  ทุกเดือน  เมื่อมะละกอเริ่มติดผลเพิ่มเป็นเกรด  15 – 15 – 15  อัตรา  100  กรัม  และยูเรีย  50  กรัมต่อต้น  การใส่ปุ๋ยให้หว่านห่างจากโคนต้นแล้วใช้ดินกลบ  อย่าใส่ปุ๋ยกลบโคนต้น  นอกจากนี้  อาจมีการให้ปุ๋ยทางใบ  ได้แก่  ปุ๋ยเกรด  21 – 21 – 21  ชนิดที่มีธาตุอาหารรอง  ฉีดพ่นทุก  2  สัปดาห์  อัตรา  5  ช้อนแกงต่อน้ำ  20  ลิตร
การกำจัดวัชพืช
             ในระยะปลูกใหม่ ๆ  อาจมีการปลูกพืชแซม  สำหรับการดายหญ้ากำจัดวัชพืชให้ระวังอย่าให้ถูกรากมะละกอ  เพราะจะทำให้มะละกอชะวักการเจริญเติบโตหรือรากเน่าได้  การใช้ยาฆ่าหญ้าเวลาฉีดพ่นควรระวังอย่าให้ละอองถูกใบพืช  การปราบวัชพืชจำเป็นมากเฉพาะช่วงที่มะละกอเริ่มปลูกเท่านั้น  เมื่อมะละกอโตมีกิ่งก้านผีทรงพุ่มคลุมดินแล้ววัชพืชจะมีน้อย
การออกดอกติดผล
             หลังจากมะละกอเริ่มแสดงเพศ  ให้เลือกเฉพาะต้นกะเทยหรือต้นสมบูรณ์เพศไว้หลุมละ  1  ต้น  โดยการสังเกตจากดอกของมะละกอ  ที่เหลือให้ตัดหรือถอนทิ้ง  ลักษณะเพศของมะละกอมีดังนี้
-          ต้นตัวผู้  จะมีแต่ดอกตัวผู้ล้วน ๆ  ลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ  ส่วนปลายจะบานและแยกกันเป็นรูปแฉกข้างในมี
เกสรตัวผู้  10  ชุด  ก้านดอกจะยาวและไม่ติดกัน  ต้นชนิดนี้ไม่ติดผล  หรือติด  แต่เป็นผลเล็ก  เรียก  “มะละกอติ่ง
-          ต้นตัวเมียมีดอกตัวเมียล้วน ๆ  ลักษณะอวบใหญ่  มีกลีบดอก  5  กลีบ  แยกกันเห็นได้ชัดตั้งแต่โคนกลีบ  ปลายรัง
ไข่มีที่รองรับละอองเกสรเป็นแฉกเล็ก ๆ  5  แฉก  ไม่มีเกสรตัวผู้  ก้านดอกสั้น  ให้ผลที่มีรูปร่างกลมใหญ่  ข้างในกลวง
-          ต้นสมบูรณ์เพศ  หรือต้นกะเทย  อาจมีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน  ดอกสมบูรณ์เพศมีหลาย
ชนิด  ที่ต้องการของท้องตลาด คือ  ชนิดผลยาว  ลักษณะมีเกสรตัวเมียยาวและมีกลีบดอกหุ้มอยู่  โคนกลีบดอกติดกันตลอด  ตอนปลายแยกกัน  เกสรตัวผู้มี  10  ชุด  เชื่อมติดอยู่กับโคนด้านในของกลีบดอก  ให้ผลยาวรีรูปทรงกระบอก  ข้างในกลวงเล็กน้อย  เนื้อหนากว่า  ผลที่เกิดจากดอกตัวเมีย

มะละกอแขกดำสายพันธุ์คัดมีความต้านทานต่อโรคใบด่างได้ดีในระดับหนึ่ง  คือ  สามารถให้ผลผลิตได้ในฤดูแรกหลังจากเกิดการระบาดของโรค  และมีลักษณะลำต้นเตี้ย  แข็งแรง  ติดผลดกการประเมินคุณค่าของมะละกอแขกดำสายพันธุ์คัด
ให้ผลดก  ติดผลไว  และมีลักษณะทนทานต่อโรคใบด่างดีกว่าพันธุ์ทั่ว ๆ  ไป  ลักษณะประจำพันธุ์มีดังนี้
1.             ลักษณะใบสีเขียวเข้ม  (5GY – 3/4) มีเส้นใบ  9 – 13  แฉก  (Straight)
2.             ลักษณะผลกลมยาว  ส่วนโคนของผลเล็กกว่าส่วนปลายของผลเล็กน้อย  (Lenghtened – cylindrical) ความกว้าง
ช่วงหัวผล  7.9  ซม. ช่วงท้ายผลยาว  8.8  ซม. ผลดิบสีเขียวเข้ม  (7.5 Gy – 4/4) ผลสุกมีสีผิวสีส้ม  (5YR – 6/10) ผลยาว  29.2  ซม.
1.             ออกดอกเมื่ออายุประมาณ  120 – 130  วันหลังปลูก (ปลูกในฤดูแล้ง)  ความสูงเมื่อเริ่มออกดอกประมาณ  1.50
เมตร
1.             เก็บเกี่ยวผลดิบเมื่ออายุประมาณ  2 – 3 เดือนหลังดอกบานผลสุกประมาณ  5 – 6 เดือน
2.             ลักษณะเนื้อแน่นละเอียด  สีเนื้อผลสุกแดงเข้ม  (10R – 6/10)  เนื้อหนา  2.6  ซม.


กบนา

ลักษณะทั่วไปของ  กบนา  
              กบนา หรือ กบพื้นเมือง  เป็นกบขนาดกลาง ที่พบอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 200 – 400  กรัม ด้านหลังมีสีน้ำตาลและมีจุดดำ 
ด้านท้องสีขาว ที่ริมฝีปากมีแถบสีดำ ใต้คางอาจมีจุดดำหรือลายสีดำ ขาหน้าและขาหลังมี ความยาว ปานกลาง 
เท้าหน้ามี 4  นิ้ว ไม่มีแผ่นหนังยึดติด ส่วนเท้าหลังมี 5  นิ้ว

รูปแบบบ่อเลี้ยงกบ บ่อเลี้ยงกบในปัจจุบันทำได้หลายแบบ ได้แก่ 
        1) บ่อซีเมนต์ และถังซีเมนต์ชนิดกลม  ควรเป็นบ่อที่กักเก็บน้ำลึก 30-50  เซนติเมตร บ่อแบบนี้สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในการเลี้ยงแบบต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์ เลี้ยงกบเนื้อและพ่อแม่พันธุ์ 
การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก   
        2) บ่อดิน ข้อดี คือการลงทุนต่ำบริเวณพื้นที่ที่มีอากาศหนาวสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนาข้ามฤดูกาล
ได้ดีสามารถทำเป็นบ่อพักกบนาชั่วคราวในกรณีที่ต้องการลดอาหารเพื่อให้กบพักตัวในช่วงฤดูหนาว
ก่อนนำไปขาย
        3) การเลี้ยงในกระชัง บริเวณพื้นที่ๆมีบ่อน้ำ หรือมีสระน้ำขนาดใหญ่ หรือมีร่องน้ำไหลผ่าน สามารถทำกระชังเลี้ยงกบได้   

ปลาดุกอุย


สร้างรายได้ด้วยการเลี้ยงปลาดุกอุย
              ปลาดุก เป็นปลาน้ำจืดที่สามารถหาได้ในบ่อน้ำและแม่น้ำทั่วไปเป็นบ้านพื้นบ้านที่เราสามารถหากินได้เอง หรือจะซื้อหาจากท้องตลาด เพราะความนิยมในการบริโภคของคนไทยที่ชอบน้ำปลาดุกไปประกอบอาหารทำให้ตลาดการซื้อขายปลาดุกนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่สูงเสมอ ซึ่งวันนี้จะมาแนะนำการเลี้ยงปลาดุกในพื้นที่จำกัดกันครับ
             อย่างแรกก่อนที่จะเลี้ยงเราควรที่จะเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงซะก่อน โดยเราสามารถหาบ่อวง หรือทำบ่อปูน หรือเอาแบบง่าย ๆเลยบ่อพลาสติกก็สามารถที่จะเลี้ยง ปลาดุก ได้เช่นกัน หลังจากที่เลือกว่าจะเลี้ยงในรูปแบบไหนได้แล้ว เราควรที่จะคัดเลือกพันธุ์ของปลาดุก ส่วนมากแล้วพันธุ์ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือปลาดุกอุย ด้วยเหตุผลที่ว่าโตเร็วให้น้ำหนักเยอะและที่สำคัญคือทนทานต่อโรคมาก ๆ หนึ่งบ่อวงสามารถเลี้ยงได้ 70 ตัวต่อหนึ่งบ่อวง ซึ่งระยะเวลาในการเลี้ยงก็อยู่ที่ 6- 7 เดือนปลาดุกจะโตเต็มที่
เรื่องของอาหาร
              ในช่องอนุบาลอาหารควรเป็นอาหารเม็ด ซึ่งเราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารได้ก็คือการนำอาหารเม็ดมาผสมกับอาหารทั่วไปอย่างผักหรือข้าวสุกก็ได้ เมื่อปลาดุกมีอายุและขนาดมากขึ้นประมาณ 15 เซนติเมตร เราควรที่จะเลือกอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้กับตัวปลาดุกด้วยการนำอาหารเม็ดมาผสมกับรำละเอียด แต่ถ้าจะใช้อาหารสำเร็จรูปเพรียว ๆเลยก็ได้แต่ค่าใช้จ่ายและต้นทุนจะสูงขึ้นมาก แต่ถ้าเลี้ยง ปลาดุกอุย ในบ่อดินขนาดใหญ่อาหารจะเป็นพวกเนื้อสัตว์ที่ต้มสุกแล้วแทนเพื่อประหยัดต้นทุนอีกทางหนึ่ง
การตลาด
             ถ้าเราเลี้ยง ปลาดุก ในบ่อวงหรือบ่อพลาสติกนั้นเราควรที่จะแปรรูป ปลาดุก ให้อยู่ในสภาพที่จะเก็บรักษาได้นานขึ้น อย่างเช่นปลาแดดเดียว หรือปลาร้า หรือถ้าจะไปขายสดก็ควรจะไปขายเอง แต่ถ้าจะติดต่อแผงขายปลานั้นเราควรที่จะมีจำนวนเยอะกว่านี้ส่วนมากแล้วราคาของปลาดุกอุยนั้นจะอยู่ที่ 40 -45 บาทต่อกิโลกรัม เป็นขั้นต่ำ ซึ่งถ้าเลี้ยงเยอะๆ ก็สามารถที่จะสร้างเงินล้านได้เพียง 6-7 เดือนกว่า ๆเท่านั้นเอง

แต่ถ้านำเราคิดจะประหยัดในการซื้อหาปลาดุกมากินก็ควรที่จะมีการเลี้ยงปลาดุกติดบ้านไว้บ้างก็ดีเหมือนกันส่วนตัวผมแล้วผมจะซื้อปลาดุกที่ขายตามท้องตลาดมาปล่อยไว้ในบ่อน้ำในไร่ซึ่งปล่อยเพียงไม่กี่ตัวตอนนี้ผมก็มีปลาดุกกินจนกินไม่ทันแล้วครับ เอาเป็นว่า อาชีพเกษตร นี้สามารถที่จะเป็นทั้งอาชีพเสริมและอาชีพหลักได้เลยถ้าอยากทำควรเริ่มจากเล็ก ๆทดลองให้มั่นใจก่อนว่าตัวเองมีใจรักแล้วค่อย ๆเพิ่มหรือขยายเลี้ยงให้มากขึ้นเรื่องของตลาดไม่ต้องห่วงเลยถ้าของเรามีคุณภาพซะอย่างอะไรก็ง่ายไปหมดเพราะทุกคนต้องการของมีคุณภาพนะครับ
องุ่น

การปลูกองุ่น
              สิ่งแรกที่ต้องรู้อย่างแรกในการปลูกองุ่นนั้นก็คือ ต้องรู้ว่า องุ่น ชอบสภาพอากาศแบบไหน องุ่นชอบสภาพอากาศร้อนชื้นทำให้แหล่งที่ปลูกมากที่สุดก็คือ ภาคตะวันออก แต่เมื่อมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มากขึ้นตอนนี้ก็มีการขยายไปปลูกที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างแล้ว
ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกนั้นจะเป็นดินเหนียวปนดินร่วนตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่สำคัญที่สุดก็คืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเพราะองุ่นเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก น้ำเป็นส่วนประกอบหลักขององุ่น และที่สำคัญต้องไม่ใช่พื้นที่ที่มีน้ำท่วมด้วย ก่อนปลูกควรจะเตรียมดินให้เรียบร้อย และยกร่องให้เป็นแนวเพื่อสะดวกในการดูแลรักษา เมื่อยกร่องเสร็จแล้ว ก็ขุดหลุมลึกประมาณ 50 เซนติเมตร นำปุ๋ยรองก้นหลุมก่อน โดยระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 3×4หรือ3.50×5 เมตร ซึ่งหลังจากเตรียมหลุมเสร็จแล้วก็เอาต้นองุ่นที่เตรียมไว้มาลงหลุมกลบดินอย่าให้แน่นเกิน และรดน้ำในทันที่และอย่าลืมอย่างเด็ดขาดต้องสร้างที่บังแดดให้กับต้นองุ่นด้วยเพราะช่วงเปลี่ยนถ่ายนี้เป็นช่วงที่องุ่นจะอ่อนแอที่สุดเราต้องดูแลให้มาก
              ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันพันธุ์แรกคือ พันธุ์ไวท์มะละกา เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดโดยเน้นปลูกเพื่อเก็บผล โดยแบ่งย่อยออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักตามลักษณะของผลที่ออกมา คือ ชนิดผลกลม และผลยาว โดยจุดเด่นของสายพันธุ์นี้คือจะมีช่อใหญ่ มีลูกเยอะ หนึ่งปีให้ผลผลิต 2 ครั้ง ส่วนอีกพันธุ์หนึ่งคือพันธุ์คาร์ดินัล องุ่น พันธุ์นี้จะมีสีม่วงที่เราเห็นกันทั่วไปในท้องตลาด เหตุเพราะว่าการดูแลง่ายง่านและให้ผลผลิตสูง เก็บผลผลิตได้ 5 ครั้งต่อปี ซึ่งราคาจะถูกกว่าพันธุ์ไวท์มะละกา จึงไม่ค่อยนิยมปลูกเท่าไร ส่วนเรื่องการขยายพันธุ์นิยมใช้การตอนกิ่ง ติดตา การเสียบยอด และการเสริมรากมากกว่าปลูกด้วยเมล็ดด้วยเหตุว่าปลูกด้วยเมล็ดอาจจะทำให้ต้นกลายพันธุ์และไม่ทนต่อโรค
การดูแลรักษาองุ่นควรที่จะใส่ปุ๋ยรดน้ำและตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ
              สิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกพืชทุกชนิดก็คือการเข้าใจหลักธรรมชาติของสิ่งที่เราปลูกการดูแลรักษาเลยต้องมีการเอาใจใส่อย่างมาก เมื่อ องุ่น อายุครบได้หนึ่งปีก็ควรที่จะทำค้างให้กับองุ่นด้วย และมั่นที่จะกำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยรดน้ำ พร้อมทำการตัดแต่กิ่งและเถ้าอย่างสม่ำเสมอด้วย
ราคาองุ่น

              องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาตามท้องตลาดเรียกว่าองุ่นเขียวไทย ที่อัพเดทล่าสุดก็อยู่ประมาณ 35 ถึง 60 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ทำให้ผู้ปลูกนั้นอยู่ได้เลยทีเดียวนอกจากผลสดจะขายได้แล้วก็ยังมีการนำองุ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นอีก อาทิ ไวน์ หรือยาบำรุง เป็นต้น

กุ้งก้ามแดง


              กุ้งก้ามแดง หรือ กุ้งเครฟิช มีถิ่นกำเนิดมาจาก ออสเตรเลีย เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 12 นิ้วอายุเฉลี่ยโดย 4ปี ในธรรมชาติ และ 2-3 ปี เมื่อเลี้ยงในตู้กระจก อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยง 25-28 องศา โดยผู้ที่นำกุ้งชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเล็งเห็นความต้องการของตลาด ทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารก่อน ลักษณะในการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดงนี้จะเป็นกุ้งที่โตเร็วและมีขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของกุ้มก้ามแดงคือ มีสีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งด้วยสีสันที่มีมากมายนั้นเองเลยทำให้ตลาดของกุ้งก้ามแดงนี้มีอยู่ 2 ตลาดด้วยกันคือตลาดอาหารและตลาดการเลี้ยงเพื่อสวยงามนั่นเอง
             ควรเตรียมบ่อที่จะเลี้ยงด้วยการเติมน้ำเข้าไปประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็เติมเหลือแกงลงไปในอัตราส่วนเติมเกลือ อัตราน้ำ 1000 ลิตร ต่อ 1 กิโลกรัม หลังจากนั้นอย่าพึ่งปล่อย กุ้งก้ามแดง ลงให้ทำการปั้มอากาศหรือเติมอากาศให้กับบ่อที่เตรียมน้ำไว้ซักประมาณ 5 -6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยแล้วค่อยนำกุ้งลงปล่อย การปล่อยกุ้งนั่นอย่าปล่อยเยอะเกินไปเพราะกุ้งชนิดนี้มีนิสัยห่วงถิ่นและอาณาเขตอย่างมาก เพราะถ้าอยู่ในจำนวนเยอะเกินไปจะมีการกินกันได้ อาหารของกุ้งก้ามแดงนั้นสามารถหาได้ทั่วไปเพราะกุ้งชนิดนี้กินได้ทั้งผักและเนื้อ ส่วนมากแล้วจะเป็นพวกกุ้งฝอยจะดีมากแต่การให้อาหารแต่ละครั้งควรให้ในปริมาณที่พอดีในการกินอาหารของกุ้งด้วยเพราะถ้าให้มากเกินไปกุ้งอาจจะมีลักษณะหัวที่แตกเหมือนกับลอกคราบก็ได้เช่นกัน สิ่งสำคัญควรรักษาอุณหภูมิน้ำให้อยู่ประมาณ 20 -30 องศาเซลเซียส และเปลี่ยนน้ำทุก ๆ 2 สัปดาห์ แต่และการเปลี่ยนน้ำแต่ละครั้งไม่ควรที่จะเปลี่ยนน้ำเก่าจนหมดเพราะอาจจะทำให้กุ้งน็อคน้ำได้

             การขยายพันธุ์ กุ้งก้ามแดง นั้นทำได้ไม่ยากเพียงนำตัวผู้ 1 ตัวต่อตัวเมีย 3 ตัวมาไว้ในบ่อเดียวกันซึ่งการผสมพันธุ์จะใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น หลังจากนั้นก็นำตัวเมียออกมาไว้ในบ่ออนุบาล รอเวลาในการฟักไข่จนเป็นตัวก็ประมาณ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสภาพน้ำด้วยเช่นกัน
พริก


วางแผนในการปลูกพริก
             
              สิ่งแรกที่เราควรรู้ในการปลูก พริก ก็คือสิ่งที่ผิดไม่ชอบและสิ่งที่พริกชอบ พริกชอบแสงแดดจัดแต่ไม่ชอบพื้นที่ลุ่มที่ดอน พริกเป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้แต่ก็ไม่ชอบน้ำขังเช่นกัน สิ่งที่น่ากลัวสำหรับการปลูกพริกมาที่สุดก็คือเชื้อราและแมลงที่เป็นพาหะอย่างมด ซึ่งจะชอบมากัดกินยอดอ่อนและนำเพลี้ยมาไว้บนต้นพริกประจำเลย เรื่องนี้สำคัญมาเพราะว่าพริกทุกสายพันธุ์จะเจอปัญหานี้ทุกสายพันธุ์ ผู้ที่ปลูกก็ต้องมั่นสังเกตและเฝ้าระวังไว้ให้ดี ๆ
              พริก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือประเภทผลเรียวยาวเล็กถึงปานกลาง อาทิ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกเหลือง และประเภทผลเป็นรูประฆัง และเผ็ดน้อย หรือไม่เผ็ดเลย ได้แก่ พริกยักษ์หรือพริกหวาน ซึ่งก็ต้องเลือกเอาว่าจะปลูกพันธุ์ไหนเพราะแต่ละพันธุ์จะมีความยากง่ายที่ต่างกัน
              การเก็บเกี่ยวผลผลิตสำหรับ พริก นั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งปีขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและดูแลเอาใจใส่ซึ่งการลงมือปลูกนั้นควรดูช่วงราคาที่พริกขาดแคลน ซึ่งถ้าเก็บพริกเดือนพฤศจิกายน จะหยุดให้ผลผลิตในเดือนพฤษภาคม- มิถุนายนของทุกปี ทั้งพริกเขียวและพริกแดงสด ช่วงพริกเขียวได้ราคาดีเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม ราคากิโลกรัมละ 20-25 บาท ส่วนพริกแดงได้ ราคาดีในเดือนธันวาคม กลางมกราคม กิโลกรัมละ 40-50 บาท สรุปแล้วช่วงเดือน มกราคา ถึง มิถุนายน พริกจะมีราคาสูงกว่าช่วงอื่น ๆซึ่งต้องวางแผนในการปลูกให้ดี โดยพริกสามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ลงต้นปลูกก็ประมาณ 100 วัน จะขาดเกินก็นิดหน่อยเท่านั้น
การดูแลรักษาพริก
              การดูแลรักษาพริกนั้นควรจะเริ่มตั้งแต่เพาะต้นอ่อนเลย เพาะต้นอ่อนพริกนั้นสามารถเพาะได้ทั้งในหลุมเพาะที่เป็นพลาสติกหรือไม่ก็เพาะในแปลงปลูกเลยก็ได้ซึ่งข้อดีของการเพาะในหลุมเพาะเราสามารถควบคุมทุกอย่างได้แต่ข้อเสียก็คือตอนนำลงหลุมจะต้องให้ต้นพริกฟื้นตัวด้วย เพราะรากได้รับการกระทบกระเทือน แต่สำหรับเพาะในแปลงปลูกเลยรากจะไม่กระทบกระเทือนแต่การดูแลก็จะยากหน่อยเท่านั้น ระยะการปลูกตามทฤษฏีแล้วประมาณ 100 เซนติเมตร แต่จากที่ผมได้คุยกับชาวสวนที่ปลูกจริง ๆเขาบอกว่าการปลูกนั้นควรปลูกใกล้ๆกันไว้หน่อยแต่ก็ต้องเพื่อพุ่มของพริกด้วยเมื่อพริกโตขึ้นพุ่มจะชนกันพอดีเมื่อชนกันพอดีเวลาลมมาจะช่วยกันต้านลมไม่ทำให้ล้มง่ายนั้นเอง แต่ขอให้จำไว้ว่าพริก ไม่ชอบน้ำแฉะซึ่งตอนหน้าฝนเนี่ยละครับที่เราต้องดูแลให้ดีคอยมั่นดูว่ามีเชื้อราหรือแมลงเข้ามารบกวนหรือเปลาถ้ามีควรฉีดพบยากำจัดเชื้อราและกำจัดแมลง เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้เชื้อราจะล่ามเร็วมาก ๆเลย
สรุปแล้ว พริก เป็นพืชที่ปลูกง่าย ราคาดี เก็บผลผลิตได้ทั้งปี สามารถแปรรูปได้หลายอย่าง มีตลาดรองรับแน่นอนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีมาก แต่ต้องมีการดูแลรักษาเอาใจใส่นิดหน่อยในการปลูกเพื่อเป็นอาชีพ แต่ถ้าเพื่อนๆปลูกต้นเดียวเหมือนกับบ้านผมที่ปลูกไว้กินเองไม่ต้องดูแลอะไรเลยโรคภัยไข้เจ็บสำหรับต้นพริกไม่ค่อยมีเลยครับตอนนี้ก็ปลูกพริกไว้กินเองด้วยเหมือนกัน






กล้วย

             กล้วย ในประเทศไทยแบ่งเป็น  2 ประเภทตามลักษณะการซื้อขาย คือส่งออกนอกกับบริโภคในประเทศ กล้วยที่นิยมส่งออกนอกก็มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กล้วยหอม กับกล้วยไข่ แต่กล้วยที่ได้รับความนิยมในการบริโภคภายในประเทศกลับกลายเป็นกล้วยน้ำว้า ซึ่งการปลูกและการดูแลนั้นจะเหมือนๆกัน
            กล้วย เป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้อย่างเด็ดขาดเพราะว่าส่วนประกอบหลักของกล้วยนั้นเป็นน้ำซะเป็นส่วนใหญ่ แต่กล้วยก็ไม่ชอบที่น้ำขังเหมือนกัน ซึ่งการปลูกก็ควรจะเลือกพื้นที่ในการปลูกด้วยเช่นกัน ระยะห่างในการปลูกกล้วยนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นจะมีลมแรงหรือเปล่าเพราะว่าถ้าลมแรงควรที่จะปลูกกล้วยชิดกันหน่อยเพื่อต้านลมแต่ถ้าไม่มีลมแรงมากก็ควรปลูกห่าง ๆกันก็ได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือการเลือกพันธุ์กล้วยไม่ว่าจะพันธุ์ไหนเน้นเลยนะครับว่าไม่มีมีเมล็ดเลือกพันธุ์ดี ๆหน่อยนะครับจากประสบการณ์ตรงแม่ค้าหรือผู้ซื้อชอบถามว่ามีเมล็ด หรือเปล่าซึ่งถ้ามีตลาดไม่ต้องการและราคาจะตกต้องเอาไปขายให้สวนสัตว์แทนเลยนะครับ
การดูแลรักษากล้วย
              ก็อย่างที่บอกไปแล้วในตอนต้นว่า กล้วย เป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้ถ้ากล้วยขาดน้ำในตอนออกผลผลิตจะทำให้ผลกล้วยรีบไม่ได้ราคา และถ้าขาดน้ำมาก ๆจะยืนต้นตายเลยทีเดียว ควรที่จะมั่นตกแต่หน่อกล้วยอยู่เสมอเลือกหน่อที่สมบูรณ์เหลือไว้เพียงหน่อเดียวเพื่อเป็นกล้วยรุ่นต่อไป เมื่อกล้วยให้ผลผลิตแล้วควรที่จะหาไม้ค้ำยันไว้ด้วยและหาหนังสือพิมพ์หรือพลาสติกห่อผลกล้วยเพื่อให้ผิวของกล้วยออกมาสวยงามและขายได้ราคา เรื่องของโรคนั้นกล้วยไม่ค่อยมีแต่ถ้าจะให้ระวังควรระวังตั้งแต่ก่อนปลูกด้วยการเตรียมดินให้ดีโดยตากดินหลายๆครั้ง และใช้ปูนขาวในการฆ่าเชื้อโรคในดินด้วย
การตลาดซื้อขายกล้วย
              กล้วย ถือว่าเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีคุณประโยชน์มากมาย เพราะว่าทุกส่วนของกล้วยนั้นสามารถที่จะขายได้ทั้งนั้นเริ่มจากใบสามารถขายได้ในตลาดสดทั่วไป หัวปลีสามารถขายให้กับร้านอาหารหรือร้านน้ำพริกได้เลย ส่วนลำต้นขายให้กับกลุ่มที่เลี้ยงหมูเพราะว่าต้นกล้วยสามารถทำเป็นอาหารหมูได้เหมือนกัน แต่ถ้าต้นขายไม่ได้ก็ตัดให้เป็นแว่น ๆขายในช่วงลอยกระทงก็ได้เช่น และผลกล้วยก็ขายเป็นผลไม้ตามฤดู หน่อกล้วยที่ขุดออกมาอย่าทิ้งนะครับเอาไปปลูกต่อหรือนำไปวางขายก็มีคนมาซื้อเหมือนกันซึ่งกล้วยเป็น พืชทางเลือกสำหรับคนที่อยากมาทำเกษตรเพราะว่ากล้วยสามารถทีจะแปรรูปได้หลายอย่างหรือจะขายสดเลยก็ได้