การปลูกพืชชนิดต่างๆ
ผักกวางตุ้ง
ลักษณะของผักกวางตุ้ง
ผักกวางตุ้ง นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน
ซึ่งก็แล้วแต่ถิ่นด้วยว่าจะเรียกว่าอะไรอย่างภาคใต้จะเรียกว่า ผักกาดสายซิม
เป็นต้น ผักกวางตุ้งถูกจัดอยู่ในประเภทไม้ล้มลุก เป็นผักที่มีระบบรากตื้น
มีคุณประโยชน์เยอะแยะ ที่สำคัญโตไวให้ผลผลิตเร็ว
โดยประมาณแล้วหลังจากปลูกผักกวางตุ้งจะสามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงประมาณ 35- 45 วันประมาณนี้
วิธีปลูกผักกวางตุ้ง
ผักกวางตุ้ง
ถือว่าเป็นผักที่ปลูกง่ายก่อนปลูกผักกวางตุ้งเราควรที่จะเตรียมดินให้เรียบร้อยก่อน
ลักษณะดินที่ใช้ในการปลูกผักกวางตุ้งนั้นจะเป็นดินที่มีแร่ธาตุอาหารเยอะและระบายน้ำได้ดี
เนื่องจากผักกวางตุ้งเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ซึ่งผักกวางตุ้งจะหากินปุ๋ยบริเวณหน้าดินเป็นหลัก
ถ้าจะใส่ปุ๋ยควรที่จะใส่บาง
ๆอย่ามากไปเพราะถ้าใส่มากไปอาจจะทำให้ผักกวางตุ้งที่เราปลูกตายได้เหมือนกัน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผักกวางตุ้งนั้นก็คือ
เรื่องของน้ำควรที่จะมั่นรดน้ำทุกวันเพราะผักกวางตุ้งจะขาดน้ำไม่ได้
ตั้งแต่วันเริ่มปลูก
การปลูก ผักกวางตุ้ง จะมี 3 แบบด้วยกันคือ การปลูกแบบหว่านเมล็ดโดยตรง
ซึ่งมีข้อดีคือสามารถปลูกผักกวางตุ้งในปริมาณที่มากขึ้นในพื้นที่จำกัด
ส่วนแบบที่สองก็คือการหว่านเป็นแถวตรงซึ่งแบบนี้จะสามารถดูแลและจัดการได้ดีกว่าแบบแรกแต่จะได้ปริมาณการปลูกที่น้อยลงและแบบสุดท้ายก็คือการเพาะเมล็ดในถาดเพาะเมล็ดก่อนแล้วค่อยนำมาลงแปลงปลูกซึ่งวิธีนี้จะสามารถเลือกต้นผักกวางตุ้งที่แข็งแรงได้
แต่ส่วนมาจะนิยมสองแบบแรกมากกว่า
การดูแลรักษาระหว่างการปลูกผักกวางตุ้งนั้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือเรื่องของแมลงศัตรูพืช
และวัชพืชซึ่งถ้าปลูกไม่เยอะไม่แนะนำให้ใช้สารกำจัดแมลง
ควรที่จะปลูกพืชผักอย่างอื่นแซมซึ่งจะช่วยในการลดปัญหาเรื่องของแมลงได้
หรือไม่ก็ใช้สูตรน้ำหมักที่ช่วยในการขับไล่แมลง
การเก็บเกี่ยวผักกวางตุ้ง
ผักกวางตุ้ง นั้นจะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 35- 45 วัน ซึ่งจะต้องเก็บขายวันต่อวัน
ด้วยเหตุนี้เราควรวางแผนก่อนการปลูกผักกวางตุ้งให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกวัน
แต่ถ้ามีเยอะขายไม่หมดก็ควรจะเก็บรักษา
ไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณศูนย์องศาเซลเซียสที่ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 3 สัปดาห์เลยทีเดียว
ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง
ผักกวางตุ้งมีประโยชน์เยอะมาก
แต่ก็มีโทษเหมือนกันถ้าคนนำไปประกอบอาหารแล้วไม่ทำให้ถูกต้อง
ในตัวของผักกวางตุ้งนั้นจะมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารไธโอไซยาเนต
ซึ่งสารชนิดนี้มีผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้ ท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ
กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย หากทานเป็นปริมาณมาก ๆ
การนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารควรจะเปิดฝาไว้เพื่อให้สารตัวนี้ระเหยกลายเป็นไอน้ำหายไป
ข้อดีของผักกวางตุ้งก็มีเหมือนกันคือ มีใยอาหารที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ
มีวิตามินซี และยังมีแคลเซียม มีเบต้าแคโรทีน
จึงช่วยบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ดี
และที่สำคัญผักกวางตุ้งจะมีคาร์โบไฮเดรตไขมันต่ำทำให้กินเท่าไรก็ไม่อ้วนอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น