วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มะละกอ

              มะละกอ  เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง  มีปลูกอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศ  ทำรายได้ให้เกษตรกรปีละไม่น้อย  ผลผลิตสามารถส่งเป็นสินค้าออกนำเงินเข้าประเทศปีละหลายสิบล้านบาท  มะละกอเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ทั้งบริโภคดิบและสุก  ผลดิบใช้ประกอบอาหารแปรรูปทำเค็มหั่นฝอย  เชื่อมและกวน  ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว  ยังแปรรูปเป็นมะละกอแห้งเข้มข้น  น้ำเชื่อม  ฟรุตสลัด  และกวน  นอกจากนี้  ยางจากผลมะละกอยังมีสารปกเปน  (Pqpqin)  ที่ทำเป็นผงแห้งใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร  ยา  และอุตสาหกรรมฟอกหนัง
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
              เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเก็บเมล็ดพันธุ์เอง  โดยเก็บจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง  ลักษณะผลยาว  ลูกโต  ซึ่งเป็นลักษณะของต้นกะเทย  การเก็บเมล็ดจากต้นกะเทยที่ผสมตัวเอง  เมื่อนำไปปลูกจะได้ต้นกล้าที่เป็นต้นกะเทยต่อต้นตัวเมีย  อัตราส่วน  2 : 1ควรเก็บเมล็ดจากผลที่อยู่ตรงกลางลำต้นหรือผลชุดที่ ในกรณีต้องการพันธุ์แท้  ควรช่วยผสมพันธุ์โดยใช้ถุงคลุมดอกก่อนดอกบาน  เมื่อดอกบานใช้เกสรตัวผู้ในต้นเดียวกันหรือพันธุ์เดียวกันป้ายที่เกสรตัวเมีย  แล้วใช้ถุงคลุมอีกครั้งหลังจากนั้นประมาณ  7  วัน  จึงถอดถุงคลุมออก  เมล็ดที่ได้จากผลสุกสามารถนำไปเพาะได้ทันที  ถ้าจะเก็บควรล้างเนื้อเยื่อให้สะอาดนำไปผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง   บรรจุถุงพลาสติกปิดให้แน่น  แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นจะเก็บได้นานประมาณ  1  ปี  ควรหาเปอร์เซ็นต์ความงอกก่อนนำไปเพาะ
การเตรียมต้นกล้า
              สามารถเพาะเมล็ดลงในถุงโดยตรง  โดยเตรียมดินผสมหื้ร่วนซุย  อัตราส่วน  ดิน  3  ส่วน ปุ๋ยคอก  1  ส่วน  และขี้เถ้าแกลบ  1  ส่วน  ผสมให้เข้ากัน  กรอกใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายน้ำแล้ว  ขนาด  5 x 8  นิ้ว  ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งหรือในเรือนเพาะชำที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน  จากนั้นหยอดเมล็ดมะละกอถุงละ  3  เมล็ด  ลึกประมาณ  0.5  ซม. รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน  เมล็ดจะงอกหลังเพาะประมาณ  10 – 14  วัน  ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  เช่น  แมนโคเชบและสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง  เช่น  โมโนโครโตฟอส  โดยผสมยาจับใบ  เมื่อต้นกล้าเริ่มงอก  และหลังจากนั้นทุก  10  วัน  จนอายุได้  45 – 60  วัน  จึงย้ายลงปลูก  ในระหว่างนี้อาจเร่งการเจริญเติบโต  โดยใช้ปุ๋ยทางใบสูตร  21 – 21 – 21  อัตรา  2  ช้อนแกง/น้ำ  20  ลิตร  ผสมยาจับใบ  ฉีดพ่นทุกสัปดาห์  ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเพาะต้นกล้า คือ  เดือนมกราคม  ย้ายปลูกในเดือนมีนาคม  สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต  สำหรับรับประทานสุกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป
การเลือกพื้นที่ปลูก
             มะละกอเป็นพืชที่ชอบดินร่วนและมีการระบายน้ำดี  ไม่ชอบน้ำขัง  มีอินทรียวัตถุสูง  หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า  1  เมตร  ลักษณะเป็นกรดเล็กน้อย  มี่น้ำเพียงพอในช่วงฤดูแล้ว  ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง  มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่  จึงไม่ควรปลูกถี่หรือชิดเกินไป  จะทำให้ป้องกันกำจัดศัตรูมะละกอได้ลำบาก
การเตรียมแปลง
            ไถพื้นที่เพื่อปราบวัชพืช  2  ครั้ง  ครั้งแรกไถกลบ  ครั้งที่ ไถพรวนย่อยดินให้ร่วน  จากนั้นวัดระยะปลูกโดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ใช้ระยะ  2.50 x 2.50  เมตร  หรือ  2.00 x  2.00  เมตร  การปลูกถี่จะทำให้ขนาดของผลเล็กลง  ขุดหลุมสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง  50  ยาว  50  และลึก  50  ซม.  ผสมดินปากหลุมกับปุ๋ยคอกประมาณครึ่งปิ๊บ  ใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (หินฟอสเฟต)  อัตรา  150 – 250  กรัมต่อหลุม  และปุ๋ยเกรด  15 – 15 – 15  อัตรา  20  กรัมต่อหลุม  ปลูกต้นกล้าที่เตรียมไว้แล้วกลบดินในระดับเท่ากับดินในถุง  ไม่ควรปลูกลึกจะทำให้รากเน่า  ปลูกหลุมละ  2 – 3 ต้น  เมื่อมะละกอแสดงเพศแล้วจึงถอนแยกทีหลังให้เหลือต้นกะเทยไว้หลุมละ  1  ต้น
การให้น้ำ
             การปลูกในต้นฤดูฝน  จะเป็นการประหยัดทุนและแรงงานในการให้น้ำ  โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ  ควรให้น้ำ  2 – 3  วันต่อครั้ง  ในช่วงติดผลมะละกอต้องการใช้น้ำมาก  การขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงผลไม่สมบูรณ์  การให้น้ำจะทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง  โดยเฉพาะในพื้นที่ดินหรือสภาพทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การใส่ปุ๋ย
             ควรมีการให้ปุ๋ยคอกเพิ่มเติม  เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์  โดยใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์หลังปลูก  3 – 4  ครั้งต่อปี  ครั้งละครึ่งปี๊บต่อต้น  ส่วนปุ๋ยเคมีใช้เกรด  15 – 15 – 15  อัตรา  50  กรัมต่อต้น  หลังย้ายปลูก  1  เดือน  ทุกเดือน  เดือนที่  3  เพิ่มเป็นอัตรา  100  กรัมต่อต้น  ทุกเดือน  เมื่อมะละกอเริ่มติดผลเพิ่มเป็นเกรด  15 – 15 – 15  อัตรา  100  กรัม  และยูเรีย  50  กรัมต่อต้น  การใส่ปุ๋ยให้หว่านห่างจากโคนต้นแล้วใช้ดินกลบ  อย่าใส่ปุ๋ยกลบโคนต้น  นอกจากนี้  อาจมีการให้ปุ๋ยทางใบ  ได้แก่  ปุ๋ยเกรด  21 – 21 – 21  ชนิดที่มีธาตุอาหารรอง  ฉีดพ่นทุก  2  สัปดาห์  อัตรา  5  ช้อนแกงต่อน้ำ  20  ลิตร
การกำจัดวัชพืช
             ในระยะปลูกใหม่ ๆ  อาจมีการปลูกพืชแซม  สำหรับการดายหญ้ากำจัดวัชพืชให้ระวังอย่าให้ถูกรากมะละกอ  เพราะจะทำให้มะละกอชะวักการเจริญเติบโตหรือรากเน่าได้  การใช้ยาฆ่าหญ้าเวลาฉีดพ่นควรระวังอย่าให้ละอองถูกใบพืช  การปราบวัชพืชจำเป็นมากเฉพาะช่วงที่มะละกอเริ่มปลูกเท่านั้น  เมื่อมะละกอโตมีกิ่งก้านผีทรงพุ่มคลุมดินแล้ววัชพืชจะมีน้อย
การออกดอกติดผล
             หลังจากมะละกอเริ่มแสดงเพศ  ให้เลือกเฉพาะต้นกะเทยหรือต้นสมบูรณ์เพศไว้หลุมละ  1  ต้น  โดยการสังเกตจากดอกของมะละกอ  ที่เหลือให้ตัดหรือถอนทิ้ง  ลักษณะเพศของมะละกอมีดังนี้
-          ต้นตัวผู้  จะมีแต่ดอกตัวผู้ล้วน ๆ  ลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ  ส่วนปลายจะบานและแยกกันเป็นรูปแฉกข้างในมี
เกสรตัวผู้  10  ชุด  ก้านดอกจะยาวและไม่ติดกัน  ต้นชนิดนี้ไม่ติดผล  หรือติด  แต่เป็นผลเล็ก  เรียก  “มะละกอติ่ง
-          ต้นตัวเมียมีดอกตัวเมียล้วน ๆ  ลักษณะอวบใหญ่  มีกลีบดอก  5  กลีบ  แยกกันเห็นได้ชัดตั้งแต่โคนกลีบ  ปลายรัง
ไข่มีที่รองรับละอองเกสรเป็นแฉกเล็ก ๆ  5  แฉก  ไม่มีเกสรตัวผู้  ก้านดอกสั้น  ให้ผลที่มีรูปร่างกลมใหญ่  ข้างในกลวง
-          ต้นสมบูรณ์เพศ  หรือต้นกะเทย  อาจมีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน  ดอกสมบูรณ์เพศมีหลาย
ชนิด  ที่ต้องการของท้องตลาด คือ  ชนิดผลยาว  ลักษณะมีเกสรตัวเมียยาวและมีกลีบดอกหุ้มอยู่  โคนกลีบดอกติดกันตลอด  ตอนปลายแยกกัน  เกสรตัวผู้มี  10  ชุด  เชื่อมติดอยู่กับโคนด้านในของกลีบดอก  ให้ผลยาวรีรูปทรงกระบอก  ข้างในกลวงเล็กน้อย  เนื้อหนากว่า  ผลที่เกิดจากดอกตัวเมีย

มะละกอแขกดำสายพันธุ์คัดมีความต้านทานต่อโรคใบด่างได้ดีในระดับหนึ่ง  คือ  สามารถให้ผลผลิตได้ในฤดูแรกหลังจากเกิดการระบาดของโรค  และมีลักษณะลำต้นเตี้ย  แข็งแรง  ติดผลดกการประเมินคุณค่าของมะละกอแขกดำสายพันธุ์คัด
ให้ผลดก  ติดผลไว  และมีลักษณะทนทานต่อโรคใบด่างดีกว่าพันธุ์ทั่ว ๆ  ไป  ลักษณะประจำพันธุ์มีดังนี้
1.             ลักษณะใบสีเขียวเข้ม  (5GY – 3/4) มีเส้นใบ  9 – 13  แฉก  (Straight)
2.             ลักษณะผลกลมยาว  ส่วนโคนของผลเล็กกว่าส่วนปลายของผลเล็กน้อย  (Lenghtened – cylindrical) ความกว้าง
ช่วงหัวผล  7.9  ซม. ช่วงท้ายผลยาว  8.8  ซม. ผลดิบสีเขียวเข้ม  (7.5 Gy – 4/4) ผลสุกมีสีผิวสีส้ม  (5YR – 6/10) ผลยาว  29.2  ซม.
1.             ออกดอกเมื่ออายุประมาณ  120 – 130  วันหลังปลูก (ปลูกในฤดูแล้ง)  ความสูงเมื่อเริ่มออกดอกประมาณ  1.50
เมตร
1.             เก็บเกี่ยวผลดิบเมื่ออายุประมาณ  2 – 3 เดือนหลังดอกบานผลสุกประมาณ  5 – 6 เดือน
2.             ลักษณะเนื้อแน่นละเอียด  สีเนื้อผลสุกแดงเข้ม  (10R – 6/10)  เนื้อหนา  2.6  ซม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น